E-A-T ไกด์ไลน์คืออะไร สำคัญอย่างไรต่อการจัดอันดับเว็บไซต์
สำหรับการทำ SEO เพื่อให้เว็บไซต์ติดอันดับในปัจจุบัน มีเทคนิคหลากหลายที่พัฒนาขึ้นมาเรื่อย ๆ หนึ่งในแนวทางที่กำลังถูกพูดถึงและเป็นกระแสของคนในวงการนี้คือ E-A-T Guideline หรือ E-A-T ไกด์ไลน์ ซึ่งไม่ใช่แค่การพูดถึงของคนที่ต้องใช้งานแต่ยังมีประกาศจาก Google ออกมาเป็น Guideline อยู่บ่อยครั้งด้วย มาทำความรู้จักกับ E-A-T ไกด์ไลน์ว่าคืออะไร และมีส่วนสำคัญมากขนาดไหนในการจัดอันดับเว็บไซต์ของ Google
E-A-T ไกด์ไลน์ คืออะไรกันแน่?
ลำดับแรกขอทำการอธิบายให้ทุกคนได้รู้จักกับ E-A-T ไกด์ไลน์กันสักเล็กน้อย โดย E-A-T คำนี้ย่อมาจากคำ 3 คำที่น่าสนใจ ได้แก่ Expertise (ความเชี่ยวชาญ), Authoritativeness (การมีอำนาจ) และ Trustworthiness (ความน่าเชื่อถือ) ซึ่งเมื่อสรุปในภาพรวมแล้ว E-A-T นี้อาจอธิบายได้ว่า เป็นการวัดผลด้านความน่าเชื่อถือที่ทาง Google ใช้สำหรับบรรดาเว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อแสดงให้เห็นว่าเว็บเหล่านี้มีความชำนาญในเนื้อหาที่ตนเองใส่ลงไปในเว็บไซต์จริง ตรวจสอบได้ มีความโปร่งใส ข้อมูลทั้งหมดคือของจริง
ความสำคัญของ E-A-T ในการจัดอันดับเว็บไซต์
เมื่อเข้าใจพื้นฐานการทำงานของระบบ E-A-T ไกด์ไลน์กันแล้ว ก็มาถึงสิ่งที่คนทำเว็บไซต์อยากรู้เพิ่มเติมคือ รูปแบบการทำงานของ E-A-T ไกด์ไลน์ เป็นอย่างไรบ้าง ส่งผลกับการจัดอันดับเว็บไซต์มากน้อยเพียงใด ตรงนี้ขออธิบายแบบเข้าใจง่ายว่า Google ได้นำเอาไกด์ไลน์ดังกล่าวมาใช้กับ Quality Raters หรือผู้มีหน้าที่ในการเช็ค ประเมิน ตรวจสอบคุณภาพ มีการให้คะแนน และตัดสินว่าเว็บไซต์นี้ผ่านเกณฑ์มาตรฐานของ E-A-T ไกด์ไลน์หรือไม่ หากเป็นไปตามแนวทางดังกล่าว โอกาสที่เว็บนั้นจะติดอันดับหน้าแรกของ Google ก็ง่ายขึ้นกว่าเดิมอีกหลายเท่าตัว
วิธีทำตาม E-A-T ไกด์ไลน์ เพื่อโอกาสในการติดอันดับหน้าแรก Google
1. มีแหล่งอ้างอิงข้อมูลน่าเชื่อถือในการใส่กับบทความก่อนลงเว็บไซต์ เช่น จากสถาบันระดับโลก, สถาบันน่าเชื่อถือภายในประเทศ แหล่งอ้างอิงจากกระทรวง หน่วยงานรัฐบาล สถานศึกษาต่าง ๆ เป็นต้น
2. พยายามสร้าง backlink กับเว็บไซต์ที่มีมาตรฐาน น่าเชื่อถือ เช่น โพสต์กับเว็บบอร์ดของหน่วยงานรัฐบาล, เว็บบอร์ดจากเว็บดัง มีชื่อเสียง เป็นต้น
3. พยายามระบุชื่อ-สกุลจริงของตนเองลงไปท้ายบทความ เพื่อเป็นการสร้างความน่าเชื่อถือถึงแหล่งบุคคลที่ทำว่ามีตัวตนจริง
4. มีการใส่ข้อมูลด้านการติดต่อเพิ่มเติมลงไป สร้างความน่าเชื่อถือ เช่น เบอร์โทร, อีเมล์, ที่อยู่, ข้อมูลต่าง ๆ เกี่ยวกับธุรกิจ เป็นต้น
5. พยายามสร้างเนื้อหาเพื่อให้คนพูดถึงเยอะ โดยเฉพาะกลุ่มคนที่จะแชร์ข้อมูลในฐานะของผู้เชี่ยวชาญ เช่น อาจารย์จากสถาบันดัง เป็นต้น
จริง ๆ แล้ว E-A-T ไกด์ไลน์อาจยังถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งที่ต้องรอการพัฒนาอย่างเหมาะสมอีกครั้ง แต่ถ้าจะทำเว็บให้ติดอันดับ Google การทำตาม Guideline นี้ก็ไม่ใช่เรื่องเสียหายแต่ประการใด