ปัจจุบันต้องยอมรับว่าหลายธุรกิจหันมาให้ความสนใจกับการตลาดออนไลน์มากขึ้น หนึ่งในวิธีที่จะช่วยเพิ่มการรับรู้ของผู้คนให้มากที่สุดต้องอาศัยการทำ SEO แต่หลักการเดิมที่มักเข้าใจกันคือ ต้องเขียนบทความให้ดี มีคีย์เวิร์ดที่ผู้คนค้นหาเยอะ ซึ่งก็ยังเป็นสิ่งที่ถูกต้องอยู่ อย่างไรก็ตามเมื่อโลกพัฒนาขึ้น การเปลี่ยนแปลงหรือเพิ่มเติมเพื่อให้สิ่งต่าง ๆ ก้าวหน้าขึ้นจึงเป็นเรื่องปกติ CLS จึงถูกนำมาใช้งานเพื่อให้การทำ SEO เป็นไปตามเป้าที่วางเอาไว้
CLS คืออะไร
CLS หรือ Cumulative Layout Shift เป็นส่วนหนึ่งของหลักการ Core Web Vitals เพื่อหวังให้ผู้ที่เข้ามาเยี่ยมชมยังหน้าเว็บเกิดประสบการณ์ที่ดี ซึ่ง CLS คือ ตัวชี้วัดในการจัดวาง Layout ว่ามีความเสถียรมากน้อยเพียงใด ส่งผลต่อการทำอันดับของเว็บบน Google เช่น บางเว็บอาจพบเจอกับปัญหาปุ่มที่เลื่อนไปมาตลอด, ตัวข้อความขนาดไม่เท่ากัน ข้อความเอียงเกินไป ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการเข้าใช้งานของคนทั่วไป และทำให้โอกาสที่ Google จะมองว่าเป็นข้อเสียและไม่ทำอันดับให้ติดหน้าแรก ๆ ได้ง่าย
ตัวอย่างง่าย ๆ เกี่ยวกับเว็บที่ยังมีปัญหาเรื่อง CLS คือ เมื่อกดเข้าไปอ่านเนื้อหาบทความแล้วปรากฏว่า ข้อมูลที่กำลังอ่านอยู่นั้นถูกดันลงไปด้านล่างของจอภาพอยู่เรื่อย ๆ ส่งผลให้เสียสมาธิ ขาดความต่อเนื่อง ต้องคอยจับบรรทัดกันใหม่ว่าอ่านถึงไหนแล้ว
หรืออีกกรณีตัวอย่างที่พบบ่อยคือ บางครั้งกำลังจะคลิกปุ่มอะไรสักอย่างที่อยู่บนหน้าจอเว็บ แต่พอกำลังกดคลิกปรากฏว่าปุ่มดังกล่าวเลื่อนลงมาด้านล่าง ทำให้ไปกดปุ่มอื่นแทน แบบนี้ก็เท่ากับ CLS มีปัญหาและต้องรีบแก้ไขอย่างเร่งด่วน
การวางอันดับคะแนนของค่า CLS ก็คล้าย ๆ กับการใช้ฟีเจอร์ SEO ในเว็บไซต์ทั่วไป คือ จะมีเกณฑ์คะแนนสีแดงคือ แย่ ต้องรีบปรับปรุงด่วน, สีส้ม แก้ไขในบางส่วน และสีเขียว คือ อยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งอย่างน้อยที่สุดค่าคะแนนของ CLS ควรต้องอยู่ระหว่าง 0.1-0.25 คือเป็นค่าสีเขียวถึงสีส้ม อย่าให้ตกลงไปถึงสีแดงเป็นอันขาด
อย่างไรก็ตามสำหรับบางเว็บไซต์ที่พอเช็คค่า CLS แล้วดันตกลงไปถึงสีแดง ทาง Google เองก็มักมีวิธีแก้ไข พร้อมคำแนะนำต่าง ๆ ให้ลองปฏิบัติตาม เช่น มีการปรับขนาดรูปภาพให้เท่ากันทุกรูป, เปลี่ยนพ้อนต์หน้าเว็บใหม่ ให้อ่านง่าย เป็นต้น
ความสำคัญของ CLS ในการทำ SEO
อย่างที่ได้กล่าวเอาไว้ตั้งแต่ต้นว่า หากค่า CLS อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมก็จะช่วยในเรื่องการทำอันดับให้ติดหน้าแรกได้ง่าย รวมถึงคนที่เข้ามายังไม่รู้สึกหงุดหงิด อ่านลื่นไหล และมีโอกาสคลิกไปหน้าอื่น ๆ ภายในเว็บและการซื้อสินค้า / บริการในอนาคตนั่นเอง
ใครที่กำลังทำเว็บแล้วอยากให้ติดอันดับ SEO ง่ายขึ้น อย่าลืมนำเอาเรื่องราวของการปรับแต่งหน้าเว็บ และค่า CLS เหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ด้วย